เมนู

ปัญญา บัณฑิตเหล่านั้นแต่งปัญหาแล้ว พากันเข้ามาหาพระตถาคต ถาม
ปัญหาทั้งลี้ลับและเปิดเผย ปัญหาเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกและทรง
แก้แล้ว มีเหตุที่ทรงแสดงไขให้เห็นชัด ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ความจริง
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญา เพราะทรงแก้ปัญหา
เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา
ฉะนี้แล.
จบมหาปัญญากถา

อรรถกถามหาปัญญากถา ในปัญญาวรรค


บัดนี้ จะพรรณนาตามความที่ยังไม่พรรณนาแห่งปัญญากถา อัน
พระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ในลำดับแห่งสุญญกถาอันเป็นปทัฏฐานแห่งปัญญา
โดยพิเศษ.
ตอนต้นในปัญญากถานั้น ปัญญา 7 ประการ มีอนุปัสสนาหนึ่ง ๆ
เป็นมูลในอนุปัสสนา 7 พระสารีบุตรเถระชี้แจง ทำคำถามให้เป็นเบื้องต้นก่อน.
ปัญญา 3 มีอนุปัสสนา 2 เป็นมูล และมีอนุปัสสนาอันยิ่งอย่างหนึ่ง ๆ เป็นมูล
พระสารีบุตรเถระชี้แจงไม่ทำคำถาม. ท่านชี้แจงความบริบูรณ์ของปัญญา 10
แต่ต้นด้วยประการฉะนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในอนุปัสสนาเหล่านั้น ดังต่อไปนี้. เพราะอนิจจา-
นุปัสสนา (การพิจารณาเห็นเป็นของไม่เที่ยง) แล่นไปในสังขารที่เห็นแล้ว

โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
และโดยความเป็นอนัตตาว่า สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา ฉะนั้น
อนิจจานุปัสสนานั้น ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังชวนปัญญา
(ปัญญาแล่นไป) ให้บริบูรณ์ จริงอยู่ ปัญญานั้นชื่อว่า ชวนา เพราะแล่น
ไปในวิสัยของตน ชื่อว่า ชวนปัญญา เพราะปัญญานั้นแล่นไป.
ทุกขานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นเป็นทุกข์) มีกำลังเพราะอาศัย
สมาธินทรีย์ ย่อมชำแรก ย่อมทำลายปณิธิ เพราะฉะนั้น ทุกขานุปัสสนา
ย่อมยังนิพเพธิกปัญญา (ปัญญาทำลายกิเลส) ให้บริบูรณ์. จริงอยู่ ปัญญา
นั้นชื่อว่า นิพฺเพธิกา เพราะทำลายกิเลส ชื่อว่า นิพฺเพธิกปญฺญา เพราะ
ปัญญานั้นทำลายกิเลส.
อนัตตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นว่าเป็นอนัตตา) ย่อมยังมหาปัญญา
ให้บริบูรณ์ เพราะการถึงความเจริญด้วยเห็นความเป็นของสูญเป็นการถึงความ
ยิ่งใหญ่. จริงอยู่ ปัญญานั้นชื่อว่า มหาปญฺญา ปัญญาใหญ่เพราะถึงความ
ความเจริญ.
เพราะนิพพิทานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) เป็น
ปัญญาคมกล้าสามารถเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง เพราะความที่อนุปัสสนา 3
นั่นแหละเป็นที่ตั้งของการมีกำลังด้วยอาเสวนะ แม้แต่ก่อน ฉะนั้น นิพพิทา-
นุปัสสนาย่อมยังติกขปัญญา (ปัญญาคมกล้า) ให้บริบูรณ์.
เพราะแม้วิราคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด) ก็
กว้างขวางสามารถคลายกำหนัดจากสังขารทั้งปวง เพราะอนุปัสสนา 3 นั่นแหละ
เป็นที่ตั้งอันเจริญกว่าการมีกำลัง ด้วยอาเสวนะแม้แต่ก่อน ฉะนั้น วิราคานุ-
ปัสสนาย่อมยังวิบูลปัญญา (ปัญญากว้างขวาง) ให้บริบูรณ์.

เพราะแม้นิโรธานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) ก็ลึกซึ้ง
สามารถเห็นความดับทั้งปวง ด้วยลักษณะของความเสื่อม เพราะอนุปัสสนา 3
นั่นแหละ เป็นที่ตั้งอันเจริญกว่าการมีกำลังด้วยอเสวนะแม้แต่ก่อน ฉะนั้น
นิโรธานุปัสสนาย่อมยังคัมภีรปัญญา (ปัญญาลึกซึ้ง) ให้บริบูรณ์. จริงอยู่
นิโรธชื่อว่า คมฺภีโร เพราะไม่ได้ตั้งอยู่ด้วยปัญญาอันตื้น ๆ แม้ปัญญาถึง
ความหยั่งลงในความลึกซึ้งนั้น ก็ชื่อว่า คมฺภีรา.
แม้เพราะปฏินิสสัคคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นการสละคืน) เป็น
ปัญญาไม่ใกล้สามารถสละคืนสังขารทั้งปวงด้วยลักษณะแห่งความเสื่อม เพราะ
อนุปัสสนา 3 นั่นแหละเป็นที่ตั้งอันเจริญกว่าการมีกำลัง ด้วยอเสวนะแม้แต่ต้น
เพราะพุทธิย่อมอยู่ไกลกว่าปัญญา 6 เพราะยังไม่ถึงชั้นยอด ฉะนั้น ปฏินิส-
สัคคานุปัสสนาย่อมยังอสามันตปัญญา (ปัญญาไม่ใกล้) ให้บริบูรณ์ เพราะ
ไม่ใกล้เอง. จริงอยู่ อสามันตปัญญานั้น ชื่อว่า อสามนฺตา เพราะไกลจาก
ปัญญาเบื้องต่ำ ชื่อว่า อสามนฺตปญฺญา เพราะปัญญาไม่ใกล้.
บทว่า ปณฺฑิจฺจํ ปูเรนฺติ คือ ย่อมยังความเป็นบัณฑิตให้บริบูรณ์.
เพราะปัญญา 7 ตามที่กล่าวแล้ว เจริญให้บริบูรณ์แล้ว ถึงลักษณะของบัณฑิต
เป็นบัณฑิตด้วยสังขารุเปกขาญาณ อนุโลมญาณ และโคตรภูญาณกล่าว คือ
วุฏฐานคามินีวิปัสสนาอันถึงยอด เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต ฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปณฺทิจฺจํ ปูเรนฺติ ย่อมยังความเป็นบัณฑิตให้บริบูรณ์.
บทว่า อฏฺฐปญฺญา คือ ปัญญา 8 ประการทั้งปวงพร้อมด้วยปัญญา
คือความเป็นบัณฑิต. บทว่า ปุถุปญฺญํ ปริปูเรนฺติ ย่อมยังปุถุปัญญา
(ปัญญาแน่นหนา) ให้บริบูรณ์ คือ เพราะบัณฑิตนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยความ
เป็นบัณฑิตนั้นกระทำนิพพาน ในลำดับโคตรภูญาณให้เป็นอารมณ์ ย่อมบรรลุ

ปัญญาคือมรรคผล ที่กล่าวว่า ปุถุปญฺญา เพราะปัญญาบรรลุความเป็น
โลกุตระแน่นหนากว่าโลกิยะ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา 8 ประการ
ย่อมยังปุถุปัญญาให้บริบูรณ์.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า อิมา นว ปญฺญา ปัญญา 9 ประการ
นี้ ดังต่อไปนี้. การพิจารณามรรคของพระอริยบุคคลนั้นผู้บรรลุมรรคและผล
ตามลำดับ ผู้มีจิตสันดานเป็นไปด้วยอาการร่าเริง เพราะมีจิตสันดานประณีต
ด้วยการประกอบโลกุตรธรรมอันประณีต ผู้ออกจากภวังค์หยั่งลงในลำดับเเห่ง
ผลการพิจารณาผลของพระอริยบุคคล ผู้หยั่งลงสู่ภวังค์แล้วออกจากภวังค์นั้น
การพิจารณากิเลสที่ละได้แล้วโดยนัยนี้แหละ การพิจารณากิเลสที่เหลือ การ
พิจารณานิพพาน การพิจารณา 5 ประการ ย่อมเป็นไปด้วยประการดังนี้แล.
ในการพิจารณาเหล่านั้น การพิจารณามรรค และการพิจารณาผล เป็นปฏิภาณ-
ปฏิสัมภิทาอย่างไร. ท่านติดตามบาลีในอภิธรรม แล้วกล่าวไว้ในอรรถกถา
นั้นว่า ธรรม 5 ประการเหล่านี้ คือ ธรรมที่เกิดเพราะปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง 1
นิพพาน 1 อรรถเเห่งภาษิต 1 วิบาก 1 กิริยา 1 เป็นอรรถ. มรรคญาณ
และผลญาณอันมีนิพพานนั้นเป็นอารมณ์ เพราะพระนิพพานเป็นอรรถ จึงเป็น
อรรถปฏิสัมภิทา เพราะคำว่า ญาณในอรรถทั้งหลาย เป็นอรรถปฏิสัมภิทา.
ปัจจเวกขณญาณแห่งมรรคญาณและผลญาณ อันเป็นอรรถปฏิสัมภิทานั้น เป็น
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะคำว่า ญาณในญาณทั้งหลาย เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา
ปัจจเวกขณญาณนั้น ชื่อว่าหาสปัญญา (ปัญญาร่าเริง) แห่งจิตสันดานอัน
เป็นไปด้วยอาการร่าเริง เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญา 9 ย่อมยัง
หาสปัญญาให้บริบูรณ์ และหาสปัญญาเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแม้มี

ประการทั้งปวง ชื่อว่า ปญฺญา เพราะอรรถว่า ให้รู้กล่าวคือทำเนื้อความนั้น ๆ
ให้ปรากฏ ชื่อว่า ปญฺญา เพราะรู้ธรรมทั้งหลายโดยประการนั้น ๆ.
บทว่า ตสฺส คืออันพระอริยบุคคลมีประการดังกล่าวแล้วนั้น. บท
นั้นเป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ. บทว่า อตฺถววตฺถานโต
โดยกำหนดอรรถ คือโดยกำหนดอรรถ 5 อย่างตามที่กล่าวแล้ว. อนึ่ง แม้บัดนี้
ท่านก็กล่าวไว้ในสมณกรณียกถา (กถาอันสมณะพึงกระทำ) ว่าญาณอันมีประเภท
เป็นส่วนที่ 1 ใน 5 ประเภท ในอรรถคือ เหตุผล 1 นิพพาน 1 อรรถแห่งคำ
1 วิบาก 1 กิริยา 1. บทว่า อธิคตา โหติ อันบุคคลบรรลุแล้ว คือ
ได้แล้ว ปฏิสัมภิทานั้นแหละ อันบุคคลทำให้แจ้งแล้วด้วยการทำให้แจ้งการได้
เฉพาะ ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ด้วยผัสสะที่ได้เฉพาะนั่นแหละ. บทว่า
ธมฺมววตฺถานโต โดยกำหนดธรรม คือโดยกำหนดธรรม 5 อย่างที่ท่าน
กล่าวโดยทำนองแห่งบาลีในอภิธรรมว่า ธรรม 5 อย่างเหล่านี้ คือ เหตุอันยังผล
ให้เกิดอย่างใดอย่างหนึ่ง 1 อริยมรรค 1 ภาษิต 1 กุศล 1 อกุศล 1 ชื่อว่า
ธรรม. แม้บทนี้ท่านก็กล่าวไว้ในสมณกรณียกถาว่า ญาณอันมีประเภทเป็น
ส่วนที่ 2 ใน 5 ประเภทในธรรม คือ เหตุ 1 อริยมรรค 1 คำพูด 1 กุศล 1
อกุศล 1.
บทว่า นิรุตฺติววตฺถานโต โดยการกำหนดนิรุตติ คือโดยการกำหนด
นิรุตติอันสมควรแก่อรรถนั้น ๆ. บทว่า ปฏิภาณววตฺถานโต โดยการกำหนด
ปฏิภาณ คือโดยการกำหนดปฏิสัมภิทาญาณ 3 อันได้แก่ ปฏิภาณ. บทว่า
ตสฺสิมา ตัดบทเป็น ตสฺส อิมา นี้เป็นคำสรุป.
พระสารีบุตรเถระครั้นแสดงคุณวิเศษของอนุปัสสนาทั้งหลายด้วยการ
สงเคราะห์เข้าด้วยกันทั้งหมดอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงด้วยประเภทแห่ง

วัตถุ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า รูเป อนิจฺจานุปสฺสนา การพิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยงในรูป. บทนั้นมีความดังได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงชวนปัญญาด้วยสามารถแห่งอดีต
อนาคตและปัจจุบันในรูปเป็นต้น จึงตั้งคำถามด้วยอำนาจรูปเป็นต้น อย่างเดียว
และด้วยอำนาจรูปในอดีต อนาคต และปัจจุบันแล้วได้แก้ไปตามลำดับของ
คำถาม. ในชวนปัญญานั้น ปัญญาที่ท่านชี้แจงไว้ก่อนในการแก้รูปล้วน ๆ เป็นต้น
เป็นชวนปัญญาด้วยสามารถแห่งการแล่นไปในอดีตเป็นต้นในการแก้ทั้งหมด
อันมีรูปในอดีตอนาคตและปัจจุบันเป็นมูล.
พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงประเภทแห่งปัญญาอันมีพระสูตรไม่
น้อยเป็นเบื้องต้นอีก จึงแสดงพระสูตรทั้งหลายก่อน.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สปฺปุริสสํเสโว การคบสัตบุรุษ คือการคบ
สัตบุรุษทั้งหลายมีประการดังกล่าวแล้วในหนหลัง. บทว่า สทฺธมฺมสฺสวนํ
การฟังพระสัทธรรม คือฟังคำสอนแสดงข้อปฏิบัติมีศีลเป็นต้นในสำนักของ
สัตบุรุษทั้งหลายเหล่านั้น. บทว่า โยนิโสมนสิกาโร การทำไว้ในใจโดย
แยบคาย คือ ทำไว้ในใจโดยอุบายด้วยการพิจารณาอรรถแห่งธรรมที่ฟังแล้ว.
บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือปฏิบัติธรรม
อันเป็นข้อปฏิบัติมีศีลเป็นต้น อันเนื่องในโลกุตรธรรม.
คำ 4 เหล่านั้นคือ ปญฺญาปฏิลาภาย (เพื่อได้ปัญญา) 1 ปญฺญาวุทฺธิยา
(เพื่อความเจริญแห่งปัญญา) 1 ปญฺญาเวปุลฺลาย (เพื่อความไพบูลย์แห่ง
ปัญญา) 1 ปญฺญาพาหุลฺลาย (เพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก) 1 เป็นคำแสดง
ภาวะด้วยอำนาจแห่งปัญญา. คำ 12 คำที่เหลือ เป็นคำแสดงภาวะด้วยอำนาจ
แห่งบุคคล.

อรรถกถาโสฬสปัญญานิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในสุตตันตนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า ฉนฺนํ อภิญฺญานํ
อภิญญา 6 คือ อิทธิวิธ (แสดงฤทธิได้) 1 ทิพยโสต (หูทิพย์) 1 เจโต-
ปริยญาณ (รู้จักกำหนดใจผู้อื่น) 1 ปุพเพนิวาสญาณ (ระลึกชาติได้) 1 ทิพย-
จักขุ (ตาทิพย์) 1 อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้น) 1. บทว่า เตสตฺตตีนํ
ญาณานํ
ญาณ 73 คือญาณทั่วไปแก่สาวกที่ท่านชี้แจงไว้แล้วในญาณกถา.
ในบทว่า สุตฺตสตฺตตีนํ ญาณานํ ญาณ 77 มีพระบาลีว่า ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงญาณวัตถุ 77 อย่าง แก่เธอทั้งหลาย
จงฟัง จงใส่ใจไว้ให้ดี เราจักกล่าว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ญาณวัตถุ 77 เป็น
ไฉน ? ญาณว่าเพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ ญาณว่า เมื่อไม่มีชาติ
ชราและมรณะก็ไม่มี. ญาณว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยแม้ในอดีตกาล ก็มีชราและ
มรณะ ญาณว่า เมื่อไม่มีชาติ ชราและมรณะก็ไม่มี ญาณว่า เพราะชาติเป็น
ปัจจัยแม้ในกาลอนาคตก็มีชราและมรณะ ญาณว่า เมื่อไม่มีชาติ ชราและมรณะ
ก็ไม่มี. ญาณว่า ธัมมัฏฐิติญาณมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อม
ไปเป็นธรรมดา มีความสำรอกกิเลสเป็นธรรมดา มีความดับเป็นธรรมดา.
ญาณว่า เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ. ฯลฯ ญาณว่า เพราะอุปาทานเป็น
ปัจจัยจึงมีภพ. ญาณว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน. ญาณว่า
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา. ญาณว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมี
เวทนา. ญาณว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ. ญาณว่า เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ. ญาณว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนาม
รูป. ญาณว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ. ญาณว่า เพราะอวิชชา